Saturday 26 February 2011

ลูกชายหมอ จ๋ายได้ตำรายา ตำหรับหมอจ๋าย ทำยาได้ผลดี

patsiri.comโคคลาน
ชื่ออื่น ๆ : ขมิ้นเครือ (บางภาคเรียก), โคคลาน (ตามตำรายาไทย)

ชื่อสามัญ : Cocculus, indian Berry, Fishberry , Cocculus Indicus
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anamirta cocculus (Linne) Wight et Arnolt

วงศ์ : MENISPERMACEAE


ลักษณะทั่วไป

ต้น : เป็นพรรณไม้เถา ลักษณะของเถานั้นจะกลม และโตเท่าขาของคนเรา หรือขนาดใหญ่จะโตเท่าต้นหมาก ก็มีเถานั้นจะยาวและเลื้อยพันขึ้นไปตามต้นไม้หรือตามพื้นดิน เถาอ่อนหรือกิ่งของเถาอ่อน นั้นจะมีหนาม สีผิวของเถาจะเป็นสีดำแดงคร่ำและจะแตกเป็นร่องระแหง

ใบ : ใบจะมีลักษณะเป็นรูป 3 เหลี่ยมหน้าจั่ว ตรงปลายใบของมันจะแหลม ใบนั้นจะมีความยาวประมาณ 7-10 ซม ก้านใบจะยาวประมาณ 2.4-7 ซม.

เมล็ด (ผล) : ผลถ้าแก่เต็มที่จะมีสีแดง ส่วนเมล็ดนั้นจะมีลักษณะเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว เมล็ดจะมีรสขมมากมักจะใช้ เบื่อปลา

การขยายพันธุ์ : โดยการใช้เมล็ด

ส่วนที่ใช้ : ผล และเมล็ด ใช้เป็นยา

สรรพคุณ : ผล จะมีสารพิโครท๊อกวิน ( Picrotoxin ) จะมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นประสาทส่วนกลาง ใช้เป็นยารักษาพิษในคนที่กินยานอนหลับจำพวกบาร์บิทุเรต ( Barbiturate ) กินเกินขนาดหรือใช้ฉีดเข้าเส้นเลือดในขนาด ปริมาณ 2 มิลลิกรัม ผลและเมล็ด ใช้เป็นส่วนผสมในขี้ผึ้ง เพื่อเป็นการบำบัดโรคผิวหนังเช่น โรคคันที่เกิดตามคอและหนัง ศรีษะซึ่งจะติดมาจากร้านตัดผม ( Barber is itch )

อื่น ๆ : พรรณไม้มักจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติในป่า ตามพื้นที่ราบจะมีผู้นำมาปลูกตามบ้านและตามสวนบางแห่ง ในจังหวัดพระนครและธนบุรี เพื่อประโยชน์สำหรับนำมาใช้ในการทำยา

ถิ่นที่อยู่ : เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางแถบป่าจังหวัดปราจีนบุรี

หมายเหตุ : “โคคลาน (ไทย ) ; ขมิ้นเครือ (พายัพ) ; ว่านนางล้อม ( แพร่ ) ; แม่น้ำนอง ( เชียงใหม่ ) ; หวายดิน ( สระบุรี ) จุ๊มร่วมผะน้ม (เขมร-จันทบุรี); พนม , อมพนม (ชล); เถาวัลลิทอง (ประจวบ) , ” in Siam. Plant Names, 1948, p. 32., Anamirta cocculus Mc Farland Thai-Eng. Dict.,1941 P. 933 ” ทางไหล (ต้น) Anamirta cocculus Gerini, 1912, p. 333 “Ang-rai.” , Menispermum cocculus Bern hard-Smith, Pois, Plant, 1923, p. 8 ” cocculus indicus. ” Cocculus Paniculatus Colebr. In Siam. Pllant Names, 1948. p. 131
โคคลาน เอ็นอ่อน เถาวัลย์เปรียง และสมุนไพรไทยจีนอื่นๆ อีกมากมายหลายชนิด พิชิตโรคปวดเมื่อย ผสมปลุกเศก ด้วยสมาธิบำบัด ตามตำหรับ หมอจ๋าย ปลาย ร 2 มาถึงปัจจุบัน ทันลูกชายหมอจ๋าย ชื่อนายแสวง ภัทรศิริ หลงศิริดูได้หลาย หลากที่ www.patsiri.com

พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม

| More

No comments:

Post a Comment